ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

วารสารหลอกลวง

predatory journals

วารสารที่ใช้วิธีการหลอกล่อให้ผู้แต่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารของตน

วารสารกลุ่มนี้มักแอบอ้างใช้ชื่อวารสารที่มีชื่อเสียง และนำมาปรับชื่อใหม่ให้มีความใกล้เคียงชื่อเดิมให้มากที่สุด ไม่มีวิธีการจัดทำวารสารอย่างถูกต้อง หรือได้มาตรฐาน เช่น การแอบอ้างชื่อบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของชื่อ กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของบทความไม่มีมาตรฐาน เช่น การตีพิมพ์เผยแพร่โดยไม่มีการประเมินบทความ

วารสารหลอกลวง ถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าในแวดวงวิชาการ

ลักษณะของวารสารหลอกลวง

  1. ไม่มีการแจ้งข้อมูลแหล่งที่ตั้ง หรือที่อยู่ในการติดต่อให้ชัดเจน อาจแจ้งที่อยู่ที่ไม่มีจริง ซึ่งส่วนใหญ่จะให้เป็นที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  2. มีการนำเอาภาพปกบนเว็บไซต์ของวารสารที่มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ มาแสดงไว้ โดยที่ไม่ใช่เป็นผู้ตีพิมพ์ หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ กับวารสารนั้นๆ
  3. กำหนดเลข ISBN เอง ซึ่งไม่มีจริง
  4. มักอ้างว่าวารสารมีความน่าเชื่อถือ และมีคุณภาพโดยการแจ้งว่ามีค่าดัชนีผลกระทบของวารสารสูง
  5. มักอ้างว่ามีความร่วมมือกับหน่วยงาน สมาคม และสถาบันที่มีชื่อในด้านที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตเนื้อหาของเอกสารที่ตีพิมพ์
  6. นำชื่อของนักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง มาใส่ไว้ในกองบรรณาธิการโดยไม่ได้รับอนุญาต
  7. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ในราคาสูง บางวารสารอาจไม่มีการแจ้งอัตราการเก็บค่าดำเนินการตีพิมพ์วารสาร (APC) แต่จะแจ้งค่าดำเนินการตีพิมพ์หลังแจ้งการตอบรับภายหลังในราคาที่สูงมาก
  8. ไม่มีการแจ้งเกี่ยวกับขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความ และเงื่อนไขในการตีพิมพ์
  9. มีกระบวนการพิจารณาเรื่องเพื่อตีพิมพ์รวดเร็ว อาจมีการประเมินบทความแบบอะลุ่มอล่วย และส่งให้ปรับปรุงบ้างพอเป็นพิธี
  10. สำนักพิมพ์ไม่มีชื่อเสียงในการตีพิมพ์วารสาร สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่น่าเชื่อว่ามีความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขานั้นๆ อย่างไรก็ตามพบว่ามีหลายสำนักพิมพ์ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และประเทศในยุโรปบางประเทศ
  11. วารสารหลายฉบับตั้งชื่อคล้ายคลึงกับวารสารมีชื่อเสียง และมีความน่าเชื่อถือในการจัดทำ เช่นเติม s ไปท้ายชื่อวารสารเดิม
  12. ใช้ภาษาไม่ใช่ภาษาวิชาการ มีข้อความผิดมาก โดยผิดทั้งไวยากรณ์ และพิมพ์ผิด ซึ่งพบทั้งในเว็บไซต์และบทความที่ตีพิมพ์

ตรวจสอบรายชื่อวารสารที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นวารสารหลอกลวงได้ที่ https://beallslist.net/
เครื่องมือช่วยตรวจสอบวารสารหลอกลวง :
https://thinkchecksubmit.org/journals/
อ้างอิง:
https://www.thailibrary.in.th/2021/05/02/predatory-journals/

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 21/10/65

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015